ReadyPlanet.com
dot dot dot
dot
สำหรับสมาชิก
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
dot
dot
bulletหลักโหรโดนใจ
bulletหลักโหร-ศิวเมษ
bulletโหรา-ประวัติศาสตร์
bulletโหรา-ไอที
bulletโหรา-โปรแกรม
bulletDemo/Freeware
bulletโปรแกรม Virgo07
bulletDelphi กับ Swiss Ephemeris
bulletผูกดวงออนไลน์กับ Astrotheme.com
bulletพิกัดภูมิศาสตร์ ประเทศไทย
bulletwebboard ผลัดกันเขียนเวียนกันอ่าน
dot
dot
bulletกำพล ภาระโภชน์ (Astroman) - ยูเรเนียน
bulletโรงเรียนโหราศาสตร์ไทยมาตรฐาน
bulletอดิเทพ ศรีรัตนไพฑูรย์ - ยูเรเนียน
bulletอาคม ชูจันทร์ - ยูเรเนียน, ลายมือ
bulletชาญชัย เดชะเสฏฐดี (ผู้ร่วมเขียนบทความ)
bulletอาจารย์ ธนกร ตันติถาวร - ยูเรเนียน
dot
dot
bulletประวัติ
bulletการติดต่อ
bulletภาพยนตร์ประวัติศาสตร์
bulletRojnChin's Channel (YouTube)
bulletRojnChin's Blog
bulletร้านค้าออนไลน์
dot
dot
bulletโรงเรียน โหราศาสตร์ ฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมัน
bulletAstro.com
bulletพยากรณ์ดอทคอม
bulletมูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยฯ
bulletโหราศาสตร์แนวอาจารย์จรัญ พิกุล
bulletโหรายูเรเนียนดอทคอม
bulletบ้านฮวงจุ้ย
bulletวารสารโหราเวสม์
bulletUranianSoft.com
bulletดูดวงกับ GooSiam.com
bulletMyHora.com: ดูดวงยูเรเนียนออนไลน์
bulletAstro-Seek.com: Full Moons & New Moons
bulletAstro-Seek.com: Aspect Search Engine
bulletLatitude&Longitude เมืองต่างๆ ทั่วโลก
bulletIELTS British Council
bulletIELTS IDP
bulletMUIC
bulletรวม Link เว็บอื่นๆ ที่น่าสนใจ
bulletแผนผังเว็บไซต์ (Site Map)






ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์


CURRENT MOON


dot
การใช้ระยะวังกะ ในโหราศาสตร์นิรายะนะ (โหราศาสตร์ตะวันออก) article
วันที่ 23/11/2015   09:31:52

1.    บทนำ        คัมภีร์อินเดียโบราณกล่าวถึงการให้แสงถึงกันระหว่างปัจจัยต่างๆ ในลักษณะของตำแหน่งสัมพันธ์ทางราศีไว้ชัดเจน  แต่ไม่ได้กล่าวถึงตำแหน่งสัมพันธ์ทางองศาไว้  จึงมีนักโหราศาสตร์ส่วนหนึ่งใช้เพียงตำแหน่งสัมพันธ์ทางราศีเท่านั้น  โดยไม่พิจารณาระยะเชิงมุมเลยว่าเป็นค่าองศาเท่าใด  การไม่พิจารณาระยะเชิงมุม (ตำแหน่งสัมพันธ์ทางองศา) ดังกล่าวเป็นเรื่องไม่ถูกต้องแน่นอน  เพราะคัมภีร์อินเดียโบราณเหล่านั้นล้วนมีการกล่าวถึงการนำค่าองศาของปัจจัยต่างๆมาใช้เช่นการกำหนดตำแหน่ง จุดปรมอุจ ขอบเขตของมูลเกษตร  ตำแหน่งบุษกรจันทร์ในราศีต่างๆ ฯลฯ  หรือแม้กระทั่งการนำค่าองศาของปัจจัยต่างๆมาคำนวณร่วมกันเพื่อกำหนดเป็นจุดอิทธิพล ตัวอย่างเช่นการกำหนดจุดแต่งงาน ที่มีลักษณะคล้ายการกำหนด Arabic Points ในโหราศาสตร์ตะวันตก (เชื่อกันว่าเยอรมันประยุกต์โครงสร้างที่เรียกว่า ‘โยค’ ของอินเดียที่มีเป็นพันๆโครงสร้าง  มาเป็นสมการทางคณิตศาสตร์ในรูปของพระเคราะห์สนธิ ในโหราศาสตร์ยูเรเนี่ยนและคอสโมไบโอโลยี่ เพราะฝรั่งไม่ชอบจำ แต่ชอบสมการคณิตศาสตร์มากกว่า)  แม้กระทั่งโหราศาสตร์ไทยของเรา (ซึ่งพัฒนาต่อยอดมาจากโหราศาสตร์ภารตะโดยผ่านคัมภีร์จักรทีปนี  ที่ท่านอุตมรามเถระนำมาสู่ประเทศไทย และเชื่อกันว่าเป็นการสรุปสาระสำคัญมาจากคัมภีร์พฤหัตชาดกของอินเดียอีกทอดหนึ่ง)  ก็ได้มีการกล่าวถึงดวงพิชัยสงครามไว้ ซึ่งดวงพิชัยสงครามก็คือดวงชะตาที่มีการคำนวณตำแหน่งสมผุสองศาของทุกปัจจัยไว้ครบถ้วนโดยละเอียดนั่นเอง  และในสมัยโบราณนั้นโหรหลวงจะทำดวงพิชัยสงครามให้เฉพาะกับบุคคลในราชวงศ์และเจ้านายชั้นสูงเท่านั้น 

 

คัมภีร์อินเดียโบราณกล่าวถึงการให้แสงถึงกันระหว่างปัจจัยต่างๆ ในลักษณะของตำแหน่งสัมพันธ์ทางราศีไว้ชัดเจน  แต่ไม่ได้กล่าวถึงตำแหน่งสัมพันธ์ทางองศาไว้ 

 

การนำตำแหน่งสัมพันธ์ทางองศามาใช้ทำให้เกิดปัญหาสำคัญยิ่งแม้กระทั่งในโหราศาสตร์ตะวันตกเองที่เน้นระยะเชิงมุม และตำแหน่งสัมพันธ์ทางองศาเป็นสำคัญ  ปัญหานั้นก็คือ ควรใช้ระยะวังกะ (Orb) เท่าใด ที่ยังถือว่าปัจจัยที่สัมพันธ์กันนั้นยังคงมีฤทธิ์อยู่  (แสดงผลการรวมอิทธิพลเข้าด้วยกันให้เห็นได้ชัดเจน)   แม้จนกระทั่งทุกวันนี้วงการโหราศาสตร์ตะวันตกก็ยังตกลงกันไม่ได้ว่าจะใช้ค่าใดเป็นมาตรฐาน  แต่ละระบบแต่ละสำนักจึงกำหนดใช้กันเอง  ยกตัวอย่างเช่น ยูเรเนี่ยน กับคอสโมไบโอโลยี่  ใช้ระยะวังกะไม่เกิน 1 องศา  ขณะที่คลาสสิค ใช้ 8 องศา บ้าง 12 องศา บ้าง  5 องศาบ้าง ???  แต่ในระบบนิรายะนะของเราหนักกว่าอีก  เพราะพวกที่ไม่ใช้ระยะเชิงมุม  บอกว่า  ปัจจัยอยู่ในราศีเดียวกันถือว่ากุมกัน ซึ่งเท่ากับว่ายอมให้ระยะวังกะมากถึง 30 องศานั่นเอง!!!

 

 2.    ความสำคัญของระยะวังกะ
ระยะวังกะมีความสำคัญยิ่งในการวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆในดวงชะตา  รวมถึงการพิจารณาโยค เกณฑ์ ต่างๆที่มีการกล่าวถึงในตำราโหราศาสตร์อีกด้วย  เพราะโครงสร้างใดหากสัมพันธ์กันด้วยระยะวังกะมาก  โครงสร้างนั้นอาจไม่แสดงผลใดๆเลยก็ได้  และดวงชะตานั้นก็จะได้แต่เพียงว่ามีโครงสร้างนั้นๆอยู่ในนามเท่านั้น  โดยโครงสร้างนั้นไม่ได้แสดงอิทธิพลใดๆในชีวิตเลย  ในทางตรงกันข้ามถ้าผู้พยากรณ์ใช้ระยะวังกะน้อยเกินไป  โดยเฉพาะพวกที่เคยศึกษาโหราศาสตร์ยูเรเนี่ยนมาดังเช่นผู้เขียน  ทำใจยากมากที่จะใช้ระยะวังกะมากกว่า 5 องศาขึ้นไป   แต่การใช้ระยะวังกะน้อยเกินไปดังกล่าวมีผลทำให้ต้องพลาดโครงสร้างที่สำคัญๆและแสดงอิทธิพลรุนแรงในดวงชะตานั้นๆไปเป็นอันมาก  ปัญหาสำคัญจึงอยู่ตรงที่ว่า  ควรจะใช้ระยะวังกะเท่าใดดี  ในโหราศาสตร์ระบบคงที่ หรือนิรายะนะของทางตะวันออกเรา ?
 
ยกตัวอย่างเช่น  ลักษณะพื้นฐานของโครงสร้างที่เรียกกันว่า “ราชาโยค” ในโหราศาสตร์ภารตะนั้น คัมภีร์อินเดียโบราณ “ปะราสะระ โหราศาสตรา “ ที่รจนาขึ้นโดยมหาฤาษีปะราสะระ บิดาของวิชาโหราศาสตร์ภารตะ กล่าวไว้ว่า  “ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าเรือนเกณฑ์กับเจ้าเรือนโกณ ก่อให้เกิดผลเป็น ราชาโยค”  โดยหนึ่งในคำว่า “สัมพันธ์กันนั้น คือ การให้แสงถึงกันและกัน”  สมมติดวงชะตาตัวอย่าง สองดวง  ตามภาพข้างล่าง

 

ดวง ก ดวง ข

 

ทั้งสองดวงลัคนาราศีสิงห์เหมือนกัน  ดาวเจ้าเรือนภพที่ 9 คือดาว อังคาร เจ้าราศีเมษ  ดาวเจ้าเรือนภพที่ 10 คือดาวศุกร์เจ้าราศีพฤศภ ถ้าใช้ตำแหน่งสัมพันธ์ทางราศีโดยไม่ดูสมผุสดาว  ทั้งสองดวงเป็นไปตามตำราโดยตัวหนังสือด้วยกันทั้งคู่  คือ ดวง ก  อังคาร (เจ้าเรือนภพที่ 9)   เล็ง  ศุกร์ (เจ้าเรือนภพที่ 10)    ในขณะที่ดวง ข ดาวอังคาร (เจ้าเรือนภพที่ 9) กุม ศุกร์ เจ้าเรือนภพที่ 10    ได้ราชาโยคทั้งคู่    ในกรณีนี้สมมติว่าถ้าดูสมผุสดาวแล้ว  ดวง ก  อังคารอยู่ที่ 1 องศา  ราศีพฤศภ ขณะที่ ดาวศุกร์อยู่ที่ 28 องศา ราศีพิจิก  แม้ดาวสองดวงนี้จะเล็งกันในราศี  แต่ด้วยระยะวังกะมากถึง 27 องศา  โครงสร้างการเล็งกันระหว่าง อังคารและศุกร์ จะแสดงผล (การรวมอิทธิพลของสองปัจจัยเข้าด้วยกัน) เพียงเล็กน้อยเท่านั้น  หรือกล่าวว่าการเล็งกันระหว่างอังคารกับศุกร์นี้ก่อให้เกิดผลเป็นราชาโชคแต่เพียงในนามเท่านั้น  ตรงกันข้ามถ้าในดวง ข  อังคารอยู่ที่ 1 องศา   ศุกร์อยู่ที่ 2 องศา  ด้วยระยะวังกะเพียง 1 องศา  การกุมกันของปัจจัยคู่นี้ก่อให้เกิดผลเต็มที่  และราชาโยคที่เกิดขึ้นเป็นราชาโยคที่จะแสดงอิทธิพลอย่างรุนแรงในชีวิตของเจ้าชะตา

ปัญหาในทางปฏิบัติคือ  ดวงชะตาส่วนใหญ่นั้นระยะวังกะที่เกิดขึ้นมักจะไม่น้อย หรือมาก จนพิจารณาผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ชัดเจนเช่นในกรณีตัวอย่างข้างต้น  โครงสร้างความสัมพันธ์ส่วนใหญ่ในดวงชะตาจะมีระยะวังกะมากน้อยต่างกันไปตลอดช่วงระยะกว้าง 30 องศาของราศี  จึงสมควรจะต้องมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาที่แน่นอน  เช่นเดียวกับหลักเกณฑ์ในเรื่องระยะวังกะที่เหมาะสมของสำนักต่างๆ ในโหราศาสตร์ตะวันตก

 

 3.    ข้อพิจารณา

ตัวอย่าง ระยะวังกะ ที่บางสำนัก ในโหราศาสตร์ตะวันตก (คลาสสิค) กำหนดใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ ในดวงชะตา

 ดังที่กล่าวในหัวข้อที่ 1  คัมภีร์อินเดียโบราณ และตำราโหราศาสตร์ไทยเรารุ่นก่อนๆ  กล่าวถึงตำแหน่งสัมพันธ์ทางราศีไว้ชัดเจน  แต่ไม่กล่าวถึงตำแหน่งสัมพันธ์ทางองศา และระยะวังกะไว้  มีเพียงตำราของอาจารย์เทพย์ สาริกบุตร ที่กล่าวถึงระยะวังกะไว้เป็นเรื่องสำคัญ  ผู้เขียนสันนิษฐานว่าอาจารย์เทพย์ฯ ท่านสืบเชื้อสายมาจากข้าราชการระดับสูงในกรมโหรของราชสำนักตั้งแต่ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์  ซึงเป็นที่ทราบกันดีว่า การผูกดวงเพื่อพยากรณ์ดวงชะตาเจ้านายชั้นสูงในราชสำนักนั้น  ไม่ได้ใช้ดวงอีแปะ ที่ไม่มีสมผุสองศาดาวเคราะห์  แต่ใช้ดวงพิชัยสงครามซึ่งมีการคำนวณกำหนดสมผุสองศาของปัจจัยในดวงชะตาครบทุกปัจจัย  อาจารย์เทพย์ท่านจึงให้ความสำคัญกับ ระยะเชิงมุมระหว่างปัจจัย  และระยะวังกะที่เหมาะสม  ดังนั้นเพื่อที่จะกำหนดหลักเกณฑ์การใช้ระยะวังกะที่เหมาะสมในโหราศาสตร์ระบบคงที่ (นิรายะนะ) จึงมีความจำเป็นต้องพิจารณาจากหลักเกณฑ์น่าสนใจที่นักโหราศาสตร์หลายท่านในอดีตเคยกล่าวถึงไว้  ซึ่งในบทความนี้ผู้เขียนจะนำหลักเกณฑ์ที่นักโหราศาสตร์ 3 ท่าน เคยกล่าวถึงไว้เกี่ยวกับ ระยะวังกะที่เหมาะสมมาพิจารณา  นักโหราศาสตร์ 3 ท่านนี้ได้แก่   หนึ่ง  อาจารย์เทพย์  สาริกบุตร  สอง ดร.บีวี  รามัน  และ สาม James T Braha  ดังรายละเอียดต่อไปนี้

3.1    อาจารย์เทพย์  สาริกบุตร

คัมภีร์จักรทีปนี  รจนาโดยพระอุตมรามเถระซึ่งเดินทางกลับมาจากอินเดีย  นับถือกันว่าเป็นตำรารากฐานของโหราศาสตร์ไทยในปัจจุบัน  และเชื่อกันว่า พระอุตมรามเถระ  เรียบเรียงโดยการสรุปสาระสำคัญมาจากคัมภีร์พฤหัตชาดกของอินเดีย

 

ผู้เขียนจำค่าระยะวังกะที่อาจารย์เทพย์ฯท่านแนะนำได้แม่นยำจนถึงทุกวันนี้  ท่านสอนว่า  ระยะวังกะที่ให้ผลเต็มที่ คือ ภายในลูกนวางค์เดียวกัน  กล่าวคือในทุกตำแหน่งสัมพันธ์ทางราศี (กุม เล็ง โยค ฉาก ตรีโกณ) ระยะวังกะที่ให้ผลเต็มที่คือเกิดขึ้นภายในนวางค์ลูกเดียวกัน  (สำหรับ การเล็ง โยค ฉาก ตรีโกณ หมายถึงลูกนวางค์ลำดับที่เดียวกันในราศี)   หนึ่งลูกนวางค์กว้าง 3 องศา 20 ลิปดา ดังแสดงในภาพข้างล่าง ถ้าไม่ใช่ภายในลูกนวางค์เดียวกัน  ท่านให้ใช้ระยะวังกะไม่เกิน 3 องศา  ทั้งนี้อนุโลมให้ถึง 5 องศา เป็นระยะวังกะที่อาจแสดงผลรุนแรงชัดเจน  ส่วนระยะวังกะที่มากกว่านี้ท่านกล่าวเพียงว่าความแรงของการเกิดอิทธิพลจะลดน้อยลงตามระยะวังกะที่มากขึ้นตามลำดับ  จนกระทั่งเกือบถึง 30 องศา  โครงสร้างนั้นก็จะไม่แสดงอิทธิพลใดๆเลยนั่นเอง

 

ดาวอังคารสถิต นวางค์ลูกที่ 5  ราศีเมษ  ดาวศุกร์สถิต นวางค์ลูกที่ 5 ราศีเมษเช่นเดียวกัน  จัดเป็นการกุมกันภายในนวางค์ลูกเดียวกัน

3.2    ดร. บีวี  รามัน

ดร.บีวี รามัน  เป็นนักโหราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอินเดียยุคใหม่  ท่านได้แต่งตำราโหราศาสตร์ภารตะเป็นภาษาอังกฤษไว้เป็นจำนวนมาก ตำราโหราศาสตร์ของท่านได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางทั้งภายในประเทศอินเดีย  และนานาชาติ  จนกระทั่งทุกวันนี้

 

ดร.บีวี รามัน  เป็นนักโหราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอินเดียยุคใหม่  ท่านได้แต่งตำราโหราศาสตร์ภารตะเป็นภาษาอังกฤษไว้เป็นจำนวนมาก ตำราโหราศาสตร์ของท่านได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางทั้งภายในประเทศอินเดีย  และนานาชาติ  จนกระทั่งทุกวันนี้  ท่านได้เขียนความเห็นของท่านเกี่ยวกับระยะวังกะที่เหมาะสมไว้ในตำราหลายเล่ม  โดยผู้เขียนขออ้างถึงเนื้อหาที่ท่านเขียนไว้ใน “Howe to judge a Horoscope Volume One-หน้าที่ 11)  ซึ่งท่านเขียนไว้ดังนี้   “In all cases where a Rajayoga is noticed, the extent to which it will be realized depends upon the inherent strength it has gained as a result of ownership, association, occupation and aspect of the two planets that cause a Yoga. The Yoga can really be of some substantial effect provided the planets causing the Yoga are within 12 degree of each other.”  แปลเป็นไทยได้ว่า “ในทุกกรณีที่ตรวจพบโครงสร้างราชาโยค โอกาสที่ราชาโยคดังกล่าวจะแสดงผลในชีวิตจริงตามที่ตำราบอกไว้นั้น ขึ้นอยู่กับ ความเป็นเจ้าเรือน   ทัศนะสัมพันธ์ที่ได้รับจากดาวเคราะห์อื่นๆ  เรือนที่สถิต  และความแรงของความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างดาวเคราะห์ที่ทำให้เกิดโยคดังกล่าว   ทั้งนี้การที่โยคดังกล่าวจะแสดงผลให้เห็นได้ชัดเจนในชีวิตนั้น ระยะวังกะระหว่างดาวเคราะห์ที่ทำให้เกิดโยค  จะต้องไม่เกิน 12 องศา

ตรงค่า 12 องศานี้ต้องเข้าใจว่า  ดร.บีวี รามัน  หมายถึงระยะวังกะที่ทำให้โครงสร้างที่เรียกว่า “โยค”  (เช่น  ลักษมีโยค,   ปัญจะมหาบุรุษโยค,  อังศะอวตารโยค,  ธรรมะกรรมะอธิปไตยโยค ฯลฯ) ในโหราศาสตร์ภารตะแสดงอิทธิพลให้เห็นชัดเจน  ในขณะที่ตัวเลข 5 องศาของอาจารย์เทพย์ฯนั้น  ท่านหมายถึงเฉพาะตำแหน่งสัมพันธ์ทางราศีใดๆก็ได้  (กุม เล็ง โยค  ฉาก ตรีโกณ) ระยะวังกะจึงกำหนดไว้น้อยกว่าของ ดร.บีวี รามัน  ที่หมายถึงระยะวังกะที่ทำให้ทั้งโครงสร้าง (โยค) ที่ปรากฏในดวงชะตาแสดงผลให้เห็นชัดเจน  จึงสมเหตุผลที่ค่าระยะวังกะย่อมต้องมากกว่า กรณีตำแหน่งสัมพันธ์ทางราศีทั่วๆไป  เพราะอิทธิพลของโครงสร้างที่ประกอบกันเป็น “โยค” ย่อมต้องให้ผลรุนแรงกว่าตำแหน่งสัมพันธ์ทางราศีโดยทั่วไปเป็นธรรมดา

3.3    James T Braha
ตามที่ได้เคยอ้างถึง หนังสือของ Braha ในบทความก่อนหน้านี้แล้ว  Braha เป็นคนเขียนตำราโหราศาสตร์ภารตะเป็นภาษาอังกฤษที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในโลกและมียอดขายสูงที่สุดในโลกด้วย  หนังสือของเขาทำให้ชาวตะวันตกสามารถเข้าใจโหราศาสตร์ภารตะได้อย่างดีและครอบคลุมเป็นครั้งแรก  ทำให้โหราศาสตร์ภารตะได้รับความนิยมแพร่หลายเป็นอันมากในโลกตะวันตก อย่างที่ปรากฏอยู่ในทุกวันนี้  ปกติที่ผู้เขียนสังเกตมา  นักโหราศาสตร์ที่เป็นนักพยากรณ์อาชีพ  แม้จะมีความสามารถในการพยากรณ์ แต่มักไม่ถนัด และไม่สามารถเขียนตำราโหราศาสตร์ที่ดีออกมาได้  ในขณะที่นักโหราศาสตร์ในฐานะนักวิชาการที่มีความถนัดในการเขียนหนังสือ ก็มักจะไม่ได้ประกอบอาชีพโหราศาสตร์โดยตรง  จึงมักมีประสบการณ์ผ่านการดูดวงชะตามาน้อยกว่านักโหราศาสตร์อาชีพ  ยกตัวอย่างเช่น  Padia  นักโหราศาสตร์ภารตะในประเทศอินเดีย  อาจารย์คนที่สองของ Braha ที่ช่วยเติมเต็มความรู้ทางโหราศาสตร์ให้กับ Braha จนกระทั่งเขาสามารถใช้วิชาโหราศาสตร์ประกอบอาชีพจนประสบความสำเร็จอย่างที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้  ก็ไม่เคยเขียนตำราโหราศาสตร์ใดๆ  และตลอดชีวิตของ Padi a  เขาศึกษาโหราศาสตร์มาจากคัมภีร์ชาดกจันทริกาเพียงเล่มเดียวเท่านั้น  ความรู้นอกจากนั้นล้วนได้มาจากการปฏิบัติในฐานะนักโหราศาสตร์อาชีพเท่านั้น 
 

Braha เป็นคนเขียนตำราโหราศาสาตร์ภารตะเป็นภาษาอังกฤษที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในโลกและมียอดขายสูงที่สุดในโลกด้วย  หนังสือของเขาทำให้ชาวตะวันตกสามารถเข้าใจโหราศาสตร์ภารตะได้เป็นอย่างดีเป็นครั้งแรก  ทำให้โหราศาสตร์ภารตะได้รับความนิยมแพร่หลายเป็นอันมากในโลกตะวันตก อย่างที่ปรากฏอยู่ในทุกวันนี้

 James T Braha มีคุณลักษณะที่ดีดรบสองประการที่ทำให้หนังสือโหราศาสตร์ที่เขาเขียนเป็นตำราโหราศาสตร์ชั้นยอดที่หาได้ยากยิ่ง   หนึ่งคือเขาเป็นนักวิชาการทีมีความสามารถและความถนัดในการศึกษาค้นคว้า และเขียนตำรับตำรา  ในขณะเดียวกันเขาก็เป็นนักโหราศาสตร์อาชิพที่เลี้ยงปากเลี้ยงท้องด้วยการรับพยากรณ์ดวงชะตามาตลอดชีวิต  ทำให้เขาได้มีโอกาสดูดวงชะตาผู้คนจำนวนมากในแวดวงที่กว้างกว่าที่นักวิชาการโหราศาสตร์ทั่วไปจะสามารถทำได้   หนังสือโหราศาสตร์ที่เขาเขียนขึ้นมาจึงมีข้อดีอย่างยิ่งคือนอกจากจะสมบูรณ์ด้วยทฤษฎีแล้ว ยังกลั่นกรองมาจากประสบการณ์หลายสิบปีของนักโหราศาสตร์อาชีพที่เปี่ยมด้วยความสามารถอีกด้วย  ข้อด้อยบางประการของ Braha คือ เขาให้ความสำคัญกับหลักการพื้นฐานของโหราศาสตร์ภารตะเป็นสำคัญ  แต่ให้ความสำคัญกับเรื่องของ “โยค” น้อย  ในขณะที่ผู้เขียนเห็นว่าเรื่องของ “โยค” ก็เป็นเรื่องสำคัญมากในโหราศาสตร์ภารตะเรื่องหนึ่งเช่นเดียวกัน  นอกจากนี้ความรอบรู้ในภาพรวมของวิชาโหราศาสตร์ และคัมภีร์โบราณของเขาที่ปรากฏจากเนื้อหาในหนังสือที่เขาเขียนชี้บอกว่าความรอบรู้ของเขายังไม่กว้างขวางครอบคลุมเท่าที่ควร  ยกตัวอย่างเช่นในหนังสือของเขาบางครั้งเมื่อกล่าวถึง ราชาโยค  ลักษมีโยค ฯลฯ  เขายังไม่รู้ปรัชญาพื้นฐานอันเป็นที่มาของโครงสร้างดังกล่าวเลย  อาจเป็นไปได้ว่าจากประสบการณ์ของเขา  เขารู้สึกว่าอาจารย์คนแรกของเขาคือ R. Santhanam ซึงเป็นนักวิชาการโหราศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงในอินเดีย  และเป็นผู้แปลที่มีชื่อเสียงในการแปลคัมภีร์โบราณจำนวนมากออกมาเป็นภาษาอังกฤษอีกด้วย แม้ R. Santhanam  จะรอบรู้ทฤษฎีมากมายแต่การนำมาใช้ในทางปฏิบัติย่อมมีไม่มากเท่ากับนักโหราศาสตร์อาชีพ  เมื่อ Braha นำคำสอนที่ได้รับมาใช้ในทางปฏิบัติจึงพบว่าตัวเองยังขาดตก บกพร่อง อีกมาก ยังไม่สามารถจะเป็นนักโหราศาสตร์อาชีพที่ดีได้  เขาจึงเดินทางกลับไปอินเดียอีกเป็นครั้งที่สอง และได้พบกับ Padia ซึ่งเป็นอาจารย์คนที่สองของเขา     Padia เรียนโหราศาสตร์จากตำราเพียงเล่มเดียวคือ ชาดกจันทริกา  แต่ทำงานเป็นนักโหราศาสตร์อาชีพมาตลอดชีวิต  Braha พบว่า  Padia มีความสามารถในการวิเคราะห์และพยากรณ์สูงมาก  จึงอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ Braha ไม่สนใจที่จะศึกษาโหราศาสตร์และคัมภีร์โบราณให้กว้างขวางและครอบคลุมมากกว่าที่เขามีอยู่อีกต่อไป

ในหนังสือของ Braha เขาให้ความสำคัญกับเรื่องของระยะวังกะมาก  และใช้ระยะวังกะประกอบการอ่านโครงสร้างในดวงชะตาทุกครั้ง  อย่างไรก็ตามเขาไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ชัดเจนว่า ระยะวังกะแค่ไหน  ให้ผลเพียงใด  แต่จะกล่าวไว้ อย่างกระจัดกระจายเป็นกรณีๆไป   เมื่อมีการวิเคราะห์โครงสร้างในดวงชะตา  ซึ่งผู้เขียนสามารถสรุปความเห็นของเขาได้ดังนี้

ให้ผลรุนแรงที่สุด ภายในหนึ่งองศา
ให้ผลรุนแรง 1 องศา ถึง  5 องศา
ให้ผลปานกลาง 5 องศา – 8 องศา
ให้ผลบ้าง 8 องศา – 12 องศา
ให้ผลเล็กน้อย 12 องศา – 30 องศา

จะเห็นได้ว่าความเห็นเรื่องระยะวังกะที่เหมาะสมของนักโหราศาสตร์ทั้งสามท่านที่กล่าวถึงข้างต้น  มีความสอดคล้องกันและเป็นไปในทิศทางเดียวกันด้วย  และสำหรับผู้ที่เคยศึกษาโหราศาสตร์สากลคลาสสิคมาก็คงสามารถรับได้กับค่าระยะวังกะที่กล่าวถึง เพราะไม่ได้แตกต่างจากที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในวงการโหราศาสตร์สากลมากนัก  แต่สำหรับผู้ที่เคยใช้โหราศาสตร์ยูเรเนี่ยนเช่นผู้เขียน  ในตอนแรกๆรู้สึกยอมรับค่าระวังกะนี้ไม่ได้เพราะรู้สึกว่ามันมากเกินไป   เพราะเราเคยใช้ระบบยูเรเนี่ยนมาและพบด้วยว่าระยะวังภายใน 1 องศาให้ผลรุนแรงเฉียบขาดจริงๆ  แค่เกิน 1 องศา 30 ลิปดา ก็แทบจะไม่นำมาใช้แล้ว  นี่อะไรขนาด 4 องศา – 5 องศา   ยังเรียกว่า “ให้ผลรุนแรง” ?  แต่พอทดลองใช้มาเรื่อยๆก็รู้สึกว่าค่าต่างๆเหล่านี้ถ้านำมาใช้ในระบบและหลักเกณฑ์ในระบบนิรายะนะ  สามารถใช้อย่างได้ผล  ซึ่งตรงกับคำสอนของอาจารย์ประยูร  พลอารีย์ที่ท่านบอกเสมอว่า   ถ้าใช้โหราศาสตร์ระบบใดอยู่  ก็ให้ใช้หลักเกณฑ์ของระบบนั้นๆ  มาอ่านดวง  มาพยากรณ์  ห้ามใช้หลักเกณฑ์ข้ามระบบกันไปมาเป็นอันขาด   หรืออย่างที่ Braha เขียนไว้ในหนังสือของเขาว่า  ผลการพยากรณ์ไม่ว่าจากโหราศาสตร์ระบบใดสามารถนำมาใช้ร่วมกันได้  แต่ในการพยากรณ์ห้ามใช้เทคนิคต่างระบบกันกับระบบที่ใช้อยู่เป็นอันขาด

ผู้เขียนมีความเห็นว่า  โหราศาสตร์ตะวันออกนั้น  มีหลักเกณฑ์ต่างๆที่นำมาใช้มากมาย  ไม่ว่าจะเป็น  เกษตร อุจ นิจ  ประ  ดาวเจ้าเรือน  เรือนชะตา  ปัจจัยในเรือนชะตา ฯลฯ  ระยะวังกะจึงไม่จำเป็นต้องเข้มข้นมาก  เพราะยังมีตัวช่วยอีกมาก  ในขณะที่โหราศาสตร์ยูเรเนี่ยนนั้น  ได้ตัดเอาเรื่องที่สับสน  ไม่ชัดเจน  และหรือรกรุงรังออกไปหมดแล้ว เช่น  ไม่ใช้ดาวเจ้าเรือน  ไม่เล่น  เกษตร อุจ นิจ ประ  ไม่เล่นการกของเรือนแม้กระทั่งไม่เล่นเรือนชะตา ฯลฯ จึงไม่เหลือตัวช่วยอะไรอีก  ระยะวังกะจึงต้องเข้มเต็มที่ เพราะไม่มีตัวช่วยใดๆอีกแล้ว   มีแต่โครงสร้างพระเคราะห์สนธิที่พิจารณาเพียงระยะเชิงมุมอย่างเดียว?

จากการที่ตัวเลขค่าระยะวังกะของนักโหราศาสตร์ทั้งสามท่านที่อ้างถึง  มีความสอดคล้อง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน   และโดยประสบการณ์ของผู้เขียนพบว่าสามารถนำไปใช้อย่างได้ผลในการวิเคราะห์ดวงชะตาในทางปฏิบัติ  จึงเห็นควรสรุปค่าระยะวังกะดังกล่าวเข้าด้วยกันเป็นหลักเกณฑ์สำหรับใช้อ้างอิง สำหรับการอ่านดวงชะตาและการพยากรณ์ในโหราศาสตร์ระบบนิรายะนะดังนี้

 ผลที่เกิดขึ้น  ค่าระยะวังกะ
 ให้ผลรุนแรงที่สุด  ภายในหนึ่งองศา หรือภายในลูกนวางค์เดียวกัน
 ให้ผลรุนแรง  มากกว่า 1 องศา – 5 องศา และอยู่คนละลูกนวางค์
 ให้ผลปานกลาง  5 องศา – 8 องศา
 ให้ผลบ้าง  8 องศา – 12 องศา
 ให้ผลเล็กน้อย  12 องศา – 30 องศา

        (หมายเหตุ: ในกรณีพิจารณาโครงสร้งที่เรียกว่า “โยค” ในโหรศาสตร์ภารตะ การที่โยคดังกล่าวจะแสดงผลให้เห็นได้ชัดเจนในชีวิตนั้น ระยะวังกะระหว่างดาวเคราะห์ที่ทำให้เกิดโยค  จะต้องไม่มากกว่า 12 องศา)


4.    สรุป
แม้คัมภีร์โบราณต่างๆในโหราศาสตร์ระบบนิรายะนะ จะเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษรกำหนดเพียงตำแหน่งสัมพันธ์ทางราศีไว้เท่านั้น แต่ในตัวคัมภีร์เองได้กล่าวถึงเรื่องของสมผุสองศาของปัจจัยต่างทางโหราศาสตร์และการคำนวณจุดอิทธิพลที่สำคัญจากค่าสมผุสองศาต่างๆไว้ชัดเจน  รวมถึงในโหราศาสตร์ไทยของเราเองก็มีการใช้ดวงพิชัยสงครามซึ่งก็คือดวงชะตาที่คำนวณสมผุสองศาของปัจจัยทางโหราศาสตร์ไว้ครบถ้วนโดยละเอียดนั่นเอง    การไม่ใช้ระยะเชิงมุม (ตำแหน่งสัมพันธ์ทางองศา) โดยใช้แต่เพียงตำแหน่งสัมพันธ์ทางราศี (กุม เล็ง โยค ฉาก ตรีโกณ) โดยไม่คำนึงถึงระยะวังกะ  (พยากรณ์ด้วยดวงอีแปะที่ไม่มีสมผุสดาวเคราะห์เลย)  จึงไม่ใช่สิงที่ถูกต้องแน่นอน

ในบทความนี้ได้กล่าวถึงความเห็นของนักโหราศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ในอดีต 2 ท่าน  คือ อาจารย์เทพย์  สาริกบุตร  ดร.บีวี รามัน  และนักโหราศาสตร์ภารตะชาวอเมริกันในยุคปัจจุบัน คื อ James T Braha  เกี่ยวกับเรื่องของระยะวังกะ และค่าระยะวังกะที่ท่านเหล่านี้แนะนำ   และผู้เขียนได้สรุปความเห็นของนักโหราศาสตร์ดังกล่าวทั้งสามท่าน ประกอบกับความเห็นและประสบการณ์ของผู้เขียน นำเสนอเป็นค่าระยะวังกะที่แนะนำสำหรับใช้กับโหราศาสตร์ระบบนิรายะนะ ดังนี้

 ผลที่เกิดขึ้น  ค่าระยะวังกะ
 ให้ผลรุนแรงที่สุด  ภายในหนึ่งองศา หรือภายในลูกนวางค์เดียวกัน
 ให้ผลรุนแรง  มากกว่า 1 องศา – 5 องศา และอยู่คนละลูกนวางค์
 ให้ผลปานกลาง  5 องศา – 8 องศา
 ให้ผลบ้าง  8 องศา – 12 องศา
 ให้ผลเล็กน้อย  12 องศา – 30 องศา


        (หมายเหตุ: ในกรณีพิจารณาโครงสร้างที่เรียกว่า “โยค” ในโหรศาสตร์ภารตะ การที่โยคดังกล่าวจะแสดงผลให้เห็นได้ชัดเจนในชีวิตนั้น ระยะวังกะระหว่างดาวเคราะห์ที่ทำให้เกิดโยค  จะต้องไม่มากกว่า 12 องศา)

ชาญชัย  เดชะเสฏฐดี
วันที่ 17  เมษายน  2558

 

----------

ขอขอบ คุณ ท่านผู้เขียนบทความที่ให้ความกรุณาแก่เว็บไซต์แห่งนี้  อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างทางความคิดย่อมมีได้ และผมขอจำกัดความรับผิดชอบในฐานะเจ้าของเว็บ เท่าที่กฎหมายและกติกาสังคมกำหนด ท่านที่ประสงค์จะร่วมเขียนบทความเช่นนี้ โปรดติดต่ webmaster@rojn-info.com

 

 

 

 

 

 




บทความสมทบ

ดวงธิปู (ดวงสู้ตาย) วันที่ 11/04/2014   09:43:36 article
ความรัก คู่แท้ บุพเพสันนิวาส กับวิชาโหราศาสตร์และการสมพงศ์ดวงชะตา ตอนที่ 10 – แต่งงานอยู่กินกันแล้ว จะทุกข์ สุข ดี ร้าย ประการใด ??? วันที่ 11/04/2014   09:43:22 article
เส้นสมรส โดย อาจารย์ อาคม ชูจันทร์ วันที่ 18/03/2013   11:39:49 article
ความรัก คู่แท้ บุพเพสันนิวาส กับวิชาโหราศาสตร์และการสมพงศ์ดวงชะตาตอนที่ 9: มังคลิกาโยค (Kujadosha) : โครงสร้างร้ายในการสมพงศ์ดวงชะตา วันที่ 18/03/2013   11:39:36 article
ความงามของสตรีในทัศนะโหราศาสตร์ ตอนที่ 5: ดารานางเอก กับ โครงสร้างความงามในดวงชะตา (สืบเนื่องจากตอนที่ 2) วันที่ 10/11/2012   11:02:02
หลักเกณฑ์ทางโหราศาสตร์ที่ใช้ในการตั้งชื่อบุคคล วันที่ 04/12/2011   08:33:19 article
ความงามของสตรีในทัศนะโหราศาสตร์ ตอนที่ 4 “ดวงชะตา ผู้หญิงที่สวยที่สุดในประวัติศาสตร์ คลีโอพัตรา – ความงามที่พลิกแผ่นดิน" วันที่ 01/03/2011   20:39:13
ความงามของสตรีในทัศนะโหราศาสตร์ ตอนที่ 3: โครงสร้างชี้บอกความงามของสตรีในระบบนิรายะนะ วันที่ 27/03/2011   19:44:41
บทวิเคราะห์เรื่อง “ท่าน อ.มานิตย์ ธีรเวชชโรกุล กับความเป็นนักค้นคว้า โหราศาสาตร์ยุคไอที” วันที่ 01/03/2011   20:40:59
บทวิเคราะห์ เรื่องการเสียชีวิตของท่าน อ.มานิตย์ ธีรเวชชโรกุล วันที่ 01/03/2011   20:41:30
ยุบสภา (ปีพ.ศ.2529) วันที่ 13/03/2009   22:01:33 article
องคลาภกับการวิเคราะห์อุบัติเหตุระเบิดที่โรงงานผลิตจรวด กรมสรรพาวุธทหารบก บางซื่อ วันที่ 27/02/2009   22:21:53 article
พยากรณ์อากาศจากดวงดาว โดย พล.อ.ต. ม.ร.ว. สุกษม เกษมสันต์ วันที่ 28/04/2011   20:38:49 article
ความรัก คู่แท้ บุพเพสันนิวาส กับวิชาโหราศาสตร์ และการสมพงศ์ดวงชะตา ตอนที่ 8: สัญลักษณ์แห่งบุพเพสันนิวาส วันที่ 01/03/2011   20:41:56
ความรัก คู่แท้ บุพเพสันนิวาส กับวิชาโหราศาสตร์ และการสมพงศ์ดวงชะตา ตอนที่ 7: ปีที่แต่งงาน การสมพงศ์ดวงชะตา แต่งงานช้าหรือไม่แต่งงานเลย และดวงพระยาเทครัว วันที่ 01/03/2011   20:42:21
ความรัก คู่แท้ บุพเพสันนิวาส กับวิชาโหราศาสตร์ และการสมพงศ์ดวงชะตา ตอนที่ 6: สัญญาณคู่แท้ (Soulmate Indicators/Signals) วันที่ 01/03/2011   20:42:44
ความงามของสตรีในทัศนะโหราศาสตร์ ตอนที่ 2: โครงสร้างเพ็ญศุกร์กับความงามของสตรี วันที่ 29/06/2012   22:38:33
ความงามของสตรีในทัศนะโหราศาสตร์ (หลักเกณฑ์ทางโหราศาสตร์ที่ใช้ในการชี้บอกความงามของสตรี) ตอนที่ 1 วันที่ 01/03/2011   20:43:33
ความรัก คู่แท้ บุพเพสันนิวาส กับวิชาโหราศาสตร์และการสมพงศ์ดวงชะตา ตอนที่ 5: วิธีการพื้นฐานในการสมพงศ์ดวงชะตา (ดวงซ้อนดวง) วันที่ 01/03/2011   20:44:01
ความรัก คู่แท้ บุพเพสันนิวาส กับ วิชาโหราศาสตร์และการสมพงศ์ดวงชะตา ตอนที่ 4: ใครผูกพันกับใครในจักรวาล วันที่ 01/03/2011   20:46:23
ความรัก คู่แท้ บุพเพสันนิวาส กับวิชาโ หราศาสตร์ และ การสมพงศ์ดวงชะตา ตอนที่ 3: จักราศีสมพงศ์ วันที่ 01/03/2011   20:46:51
ความรัก คู่แท้ บุพเพสันนิวาส กับวิชา โหราศาสตร์ และการสมพงษ์ดวงชะตา (ตอนที่ 2 บุพเพสันนิวาส กับ คู่แท้) วันที่ 01/03/2011   20:47:43
ความรัก คู่แท้ บุพเพสันนิวาส กับวิชา โหราศาสตร์ และ การสมพงษ์ ดวงชะตา (ตอนที่ 1) วันที่ 01/03/2011   20:48:07
การวิเคราะห์และประเมินความแรงของ ดาวพฤหัส ในดวงชะตาเชิงปริมาณ วันที่ 01/03/2011   20:48:35
ความสำคัญ ของ ดาวพฤหัส ใน ดวงชะตา ในทัศนะของ โหราศาสตร์ตะวันตก และ โหราศาสตร์ตะวันออก วันที่ 01/03/2011   20:49:00
กฎของ การครบวงจร ใน การพยากรณ์ ดาวพระเคราะห์ จร วันที่ 01/03/2011   20:49:25
พฤหัส ดี และ เสาร์ ร้าย จริงๆ หรือ วันที่ 27/07/2009   08:56:20 article
บทเรียน ที่ต้องเรียน จาก สึนามิ (Tsunami) วันที่ 01/03/2011   20:50:01
ปฏิทินโหร โดย พล.อ.ต. ม.ร.ว. สุกษม เกษมสันต์ วันที่ 28/04/2011   20:30:28 article
ปัญหาเรื่องอยนางศ โดย พล.อ.ต. ม.ร.ว. สุกษม เกษมสันต์ วันที่ 28/04/2011   20:21:50 article
อยนางศ โดย พล.อ.ต. ม.ร.ว. สุกษม เกษมสันต์ วันที่ 28/04/2011   20:26:07 article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
| โหรา-ประวัติศาสตร์ | โหรา-ไอที | หลักโหรโดนใจ | บทความสมทบ | โหรา-โปรแกรม | ผู้จัดทำ/ผู้สนับสนุน | Site Map |

Custom Search


ติดต่อนายโรจน์ E-mail: webmaster@rojn-info.com
หรือ Mobile: 08-1697-3098
(อาจไม่สะดวกรับสายในบางเวลา)
ยังไม่เปิดสอนและไม่รับพยากรณ์เป็นส่วนตัว
กรุณาอย่าใช้โทรศัพท์หรือส่งอีเมล์มาขอดูดวง เพราะไม่มีเวลาตอบ



มูลนิธิสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระสังฆราชูปถัมภ์ โหราศาสตร์แนว อ.จรัญ พิกุล - AstroClassical.com HoraUranian.com ดูดวง
โหราศาสตร์กับเครื่องประดับ บ้านฮวงจุ้ย (fengshuihut.com) ตลาดวิชาฮวงจุ้ยและดวงจีน ผูกดวง/ยูเรเนียนออนไลน์ (MyHora.com)

รวมลิงค์ : เว็บอื่นๆ ที่น่าสนใจ
eXTReMe Tracker