บทนำจากเรื่อง "On History" โดย Fernand Braudel
(แปลโดย ดร.ชัยวัฒน์ บุนนาค - จากเอกสารประกอบการเรียนประวัติศาสตร์สมัยผมเรียนปริญญาโท ราวๆ ปี 2527)
หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็นสามส่วน แต่ละส่วนคือ บทเรียงความเสนอที่พยายามอธิบายประวัติศาสตร์ในแง่มุมและมิติที่ต่างกัน
มิติที่หนึ่งหรือส่วนที่หนึ่ง มองประวัติศาสตร์ในแง่ของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทาง ธรรมชาติ ธรรมชาติซึ่งดูเกือบจะไม่เคลื่อนไหวเสียเลย ในแง่นี้ ถ้าเราจะเปรียบวิถีประวัติศาสตร์กับกระแสร์ธาร ก็ดูเหมือนว่ากระแสร์ธารอันนี้จะไหลและเปลี่ยนแปลงช้ามาก ถ้าไม่ไหลทวนกระแสร์กลับไปกลับมาก็ไหลเป็นวัฏฏะจักร์ซ้ำแล้วซ้ำเล่ามิรู้ สิ้น ข้าพเจ้าไม่ปฏิเสธโดยสิ้นเชิงในการมองประวัติศาสตร์ด้วยทัศนะดังกล่าว ซึ่งเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ เมื่อเทียบกับมนุษย์ซึ่งอายุสั้นและเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมากอายุของธรรมชาติ ย่อมยาวยืนมาก และความเปลี่ยนแปลงซึ่งแม้จะเกิดขึ้นก็ตาม แต่ตามสายตาของมนุษย์แล้ว สิ่งเหล่านี้ก็ดูราวกับว่าอยู่นิ่งคงที่ไม่ยอมเคลื่อนไหว ต่อธรรมชาติแล้วไซร้เวลาในฐานะของผู้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงดูจะมี อิทธิพลสำคัญน้อยลงมาก
แต่ในขณะเดียวกัน ข้าพเจ้าก็มิได้พอใจทัศนะทางประวัติศาสตร์แบบนี้ซึ่งยังทรงอิทธิพลใน ปัจจุบัน นั่นคือถึงแม้จะเริ่มมีการให้ความเข้าใจกับปัจจัยทางภูมิศาสตร์มากขึ้นก็ตาม แต่นั่นก็ดูเป็นการผิวเผิน งานเขียนของนักประวัติศาสตร์แนวนี้ ในภาคบทนำมักจะมีการเริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงพอเป็นพิธีถึงปัจจัยสภาวะแวด ล้อมทางภูมิศาสตร์ โดยพูดอย่างลวกๆ ถึงภูมิศาสตร์โลหะธาตุ ภูมิศาสตร์มนุษย์ หรือถึงภูมิศาสตร์มาลีชาติ (fleurs) หนเดียวในตอนต้น แล้วในบทอื่นๆ ก็ไม่กล่าวถึงปัจจัยทางธรรมชาตินี้อีกเลย สำหรับนักประวัติศาสตร์แนวนี้ถ้าพูดถึงดอกไม้ ก็พูดราวกับว่ามันบานหนเดียวแล้วสูญไปกับเวลา ไม่กลับมาบานอีกครั้งในฤดูใบไม้ผลิครั้งหน้า ถ้าเป็นฝูงสัตว์ถ้าหยุดกินหญ้าที่ไหนแล้วก็ติดอยู่กับทุ่งนั้นไม่เคลื่อนไหว ไปทุ่งอื่น หรือถ้าพูดเรือ เรือของเขาก็เป็นเรือที่ไหลวนในน้ำนิ่ง ไม่ต้องเผชิญกับสภาพความเป็นจริง คือคลื่นและพายุที่เปลี่ยนไปตามฤดูกาล
มิติที่สองของประวัติศาสตร์อยู่เหนือประวัติศาสตร์แนวมนุษย์ - ธรรมชาติที่เคลื่อนไหวช้าในแบบที่หนึ่ง ขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง ในมิติที่สองนี้ ประวัติศาสตร์คือเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคม ระหว่างคนกลุ่มต่างๆ ในสังคม
กล่าวโดยสิ้นประวัติศาสตร์ก็คือประวัติศาสตร์ของสังคมนั่นเอง จึงมีความเคลื่อนไหวมีชีวิตและโลดเต้นเป็นจังหวะ แต่ก็ยังเป็นจังหวะช้าๆ เพราะฉะนั้นในภาคที่สองของหนังสือเล่มนี้จึงเป็นการศึกษาความเคลื่อนไหว คลื่นสังคมลูกต่างๆ ที่มีส่วนกำหนดวิถีประวัติศาสตร์ของดินแดนเมดิเตอร์เรเนียนแถบนี้ เราจะทำการศึกษาระบบเศรษฐกิจ นครรัฐต่างๆ ในสังคมใหญ่น้อยและอารยธรรมต่างๆ ของดินแดนแถบนี้ วิธีการศึกษาแบบนี้บ่งให้เห็นว่าข้าพเจ้ามีโลกทัศน์อย่างไรในการมองและการ ศึกษาประวัติศาสตร์ ข้าพเจ้าต้องการชี้ให้เห็นว่าปัจจัยใหญ่น้อยหรือต่างระดับ ตั้งแต่ระดับหน่วยสังคมเล็กจนถึงหน่วยภูมิภาคที่ได้กล่าวมานี้ ล้วนเปรียบเสมือนพลังคลื่นใต้น้ำที่มีส่วนกำหนดเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ สำคัญๆ เช่น การเกิดสงครามระหว่างรัฐต่างๆ ในภูมิภาคนี้ ข้าพเจ้ามีความเชื่อว่า สาเหตุของสงครามย่อมมีความซับซ้อนมากกว่าการพูดง่ายๆ ว่าเกิดขึ้นจากคนคนเดียวหรือกลุ่มคนกลุ่มเดียว
มิติที่สาม คือประวัติศาสตร์แนวจารีตนิยม ที่เราถือเป็นแนวศึกษาในปัจจุบัน (หมายถึง ปี 1946) กล่าวโดยสรุปโลกทัศน์ประวัติศาสตร์แบบนี้ ประวัติศาสตร์คือเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ในระดับปัจเจกบุคคลกับ ปัจเจกบุคคล (แทนที่จะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ในระดับสังคมในแบบที่สอง หรือระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติแบบที่หนึ่ง) เป็นประวัติศาสตร์เหตุการณ์สไตล์ ฟรังซัวส์ ซีมีออง นั่นคือ การให้ความสำคัญต่อปรากฏการณ์เคลื่อนไหวในระดับผิวน้ำของกระแสร์ธารประวัติ ศาสตร์แทนที่จะสนใจปัจจัยโครงสร้างต่างๆ ซึ่งเป็นคลื่นใต้น้ำอันทรงพลังที่อยู่ในระดับลึก
ประวัติศาสตร์ในมิติที่สามนี้จึงมีลักษณะแกว่งไกว รวดเร็ว อ่อนไหวต่อการถูกกระทบราวกับอารมณ์มนุษย์ ปรากฏการณ์การเคลื่อนไหวอันใดก็ตามที่เกิดขึ้น (ในระดับผิวน้ำ) แม้จะเป็นเพียงน้อยนิด ก็ทำให้นักประวัติศาสตร์แนวนี้ตื่นตระหนก ประเมินผลคาดการณ์กันไปต่างๆนานา เราไม่ปฏิเสธการศึกษาประวัติศาสตร์แนวเหตุการณ์ เพราะการศึกษาประสบการณ์และอารมณ์อันหลากหลายของมนุษยชาติ ย่อมเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นพิศวงที่สุด
แต่ขณะเดียวกันการศึกษาประวัติศาสตร์แนวนี้ก็เป็นสิ่งที่อันตรายและอาจทำ ให้เราห่างจากความจริงทางประวัติศาสตร์ซึ่งซ่อนเร้นอยู่ได้ ข้าพเจ้าขอเตือนให้พวกเรานักประวัติศาสตร์ จงระมัดระวังประวัติศาสตร์แนวเหตุการณ์แบบที่ว่า เพราะเรื่องที่เราศึกษามักจะเป็นเรื่องที่ "ร้อนคุกรุ่น" และเรามักจะเอาประสบการณ์ความรู้สึกส่วนตัวหรือคนร่วมสมัยเดียวกับเรา เข้าไปใส่ให้คนในอีกยุคประวัติศาสตร์หนึ่ง เพราะฉะนั้นแทนที่เราจะศึกษาเรื่องราวของยุคอื่น ของคนอื่น จึงกลายเป็นการศึกษาประวัติศาสตร์ของยุคเราเอง หรือเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด ความโกรธ ความใฝ่ฝันปรารถนา หรือมายาคติของตัวเราที่มีต่อเหตุการณ์ประวัติศาสตร์นั้นๆ นั่นเอง
นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ภายหลังที่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการที่แท้จริงได้เกิดขึ้นแล้วกล่าวได้ว่ายุโรปได้เข้าสู่ยุค "ฟื้นฟูศิลปวิทยาการของคนจำนวนมาก" คนซึ่งส่วนใหญ่ยากไร้ ถ่อมตัวแต่มีความขยันขันแข็งในการผลิตงานประวัติศาสตร์นิพนธ์ขึ้นมากมาย เอกสารประวัติศาสตร์เหล่านี้ค่อนข้างจะผิดข้อเท็จจริงและมีจำนวนเหลือคณะนับ แทบไม่น่าเชื่อ ในขณะที่เราทำการค้นคว้าเรื่องของพระเจ้าฟิลลิปที่สอง เราต้องเผชิญกับเอกสารเหล่านี้จำนวนมากและมีความรู้สึกว่ากำลังเข้าไปในดิน แดนประหลาด ดินแดนซึ่งแม้จะเต็มไปด้วยอารมณ์และสีสันอันน่าพิศวง แต่ก็เป็นโลกที่มัวซัวซึ่งความจริงกับความเท็จทับกันอยู่ไม่แยกอกจากกัน อย่างกระจ่างชัด เป็นโลกซึ่งนักประวัติศาสตร์ของยุคนั้นและยุคของเราก็เช่นกันสนใจแต่กระแสร์ เหตุการณ์ "ผิวน้ำ" แทนที่จะสนใจกระแสร์ธารของโครงสร้างความจริงซึ่งซ่อนเร้นอยู่ในระดับลึก กระแสร์ธารระดับลึกที่ "นาวาประวัติศาสตร์ของมนุษย์" ต้องล่องลอยโต้คลื่นอย่างโดดเดี่ยวโดยที่นักประวัติศาสตร์เหล่านั้นไม่ให้ ความสนใจ
เมื่อเราจำเป็นต้องแล่นนาวาแห่งความรู้บนมหาสมุทรแห่งกาลเวลา ซึ่งการแสวงหาความจริงกระทำได้ลำบากเช่นนี้ สิ่งที่เราพึงกระทำคือ แทนที่จะพิจารณาแต่เพียงปรากฏการณ์ผิวน้ำและหยิบมาเป็น "หลักฐานอ้างอิง" ในการเขียนประวัติศาสตร์ เราควรจะสำรวจกระแสร์น้ำที่ไหลในระดับลึกเสียก่อน นั่นคือการมองประวัติศาสตร์ในแง่มิติที่หนึ่งและมิติที่สองซึ่งได้กล่าวมา แล้ว อีกประการหนึ่ง ถ้ามองในแง่ระเบียบวิธีวิจัยทางประวัติศาสตร์ เราควรจะกำหนดช่วงระยะเวลาของยุคประวัติศาสตร์ที่เราสนใจจะศึกษา ให้มีความยาวพอที่จะทำให้เราเห็นการเปลี่ยนแปลงคลี่คลายของปัจจัยต่างๆ ทางประวัติศาสตร์ได้ วิธีการศึกษาประวัติศาสตร์แบบนี้ย่อมทำให้เราสามารถแทรก "เหตุการณ์ธรรมดาที่น่าตื่นเต้นเพียงชั่วครู่ และชวนให้คิดว่าเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์" ให้ออกจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในความหมายที่แท้จริง นั่นคือ เหตุการณ์ที่สามารถมีอิทธิพลกำหนดวิถีวิวัฒน์ของประวัติศาสตร์ให้ออกจากกัน ได้
การกำหนดช่วงยุคของประวัติศาสตร์ที่เราสนใจศึกษาให้กว้างในแง่ของเวลา ย่อมเปิดโอกาสให้ความจริงถอยตัวออกมาจากความเท็จ และเปิดช่องให้กระแสร์ประวัติศาสตร์ในระดับลึก นั่นคือวิวัฒนาการของโครงสร้างของสังคมและของจิตใจมนุษย์ ซึ่งเป็นพลังตัวจริงในการกำหนดวิถีประวัติศาสตร์แทรกตัวออกจากเหตุการณ์ ผิวเผิน เพื่อให้เราประจักษ์ความจริงได้
มีผู้กล่าวว่า ปรัชญาวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์คือ การแยกขบวนการทางประวัติศาสตร์ทั้งมวลออกเป้น 3 ส่วนหรือ 3 มิติ ซึ่งซ้อนกันเป็นชั้นๆ ประวัติศาสตร์ในมิติของเวลา 3 มิติซึ่งมีอิทธิพลกำหนดขอบเขตความสามารถของมนุษย์ในฐานะ "ตัวแสดงทางประวัติศาสตร์" (Social Actors หรือ Actors in History) นี้ได้แก่
ก. มิติของเวลาทางประวัติศาสตร์มองในแง่ความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของปัจจัยทาง ธรรมชาติหรือทางสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์หรือเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อ มนุษย์
ข. มิติของเวลาทางประวัติศาสตร์มองในแง่ของความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของสังคม
ค. มิติของเวลาทางประวัติศาสตร์มองในแง่ความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือ เจตจำนงค์ของปัจเจกบุคคล หรือกลุ่มปัจเจกบุคคล ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญอีกอันหนึ่งที่มีส่วนกำหนดวิถีประวัติศาสตร์
ถ้าจะกล่าวอีกนัยหนึ่ง ปรัชญาการศึกษาประวัติศาสตร์ของเราคือ การแยกวิเคราะห์มนุษย์ มองทั้งในแง่กลุ่มหรือแง่ปัจเจกบุคคล ซึ่งเป็นศูนย์กลางหรือตัวแสดงทางประวัติศาสตร์ออกเป็นหลายบุคคลิกหลายบทบาท เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม จิตวิทยา สังคมวิทยา ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อให้เราสามารถเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์ในฐานะการดำรงชีวิตทุกๆ ด้านของเขา และเพื่อให้เราเข้าใจปัจจัยโครงสร้างต่างๆ ทางภูมิศาสตร์ ทางสังคม หรือภายในความนึกคิดของมนุษย์เอง ซึ่งสิ่งที่กล่าวมานี้ล้วนเป็นพลังสำคัญในการกำหนดวิถีประวัติศาสตร์ทั้ง สิ้น
ผู้ที่อาจจะไม่พอใจวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์โดยการแบ่งแยก วิเคราะห์โครงสร้างทางสังคมและโครงสร้างภายในตัวมนุษย์ ก็อาจจะเป็นพวกนักประวัติศาสตร์แนวจารีตนิยมนั่นเอง นักประวัติศาสตร์แนวนี้พอใจที่จะศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ในระดับผิวเผิน โดยคุมมนุษย์ในฐานะผู้สร้างหรือผู้มีปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ หนึ่งๆ โดยไม่ใฝ่ใจที่จะศึกษาแยกวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยอันซับซ้อนทั้งภายในและ ภายนอกตัวมนุษย์ ซึ่งตามความคิดของข้าพเจ้ามีส่วนกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ - องค์รวม - ให้มีการแสดงออกแบบหนึ่งในสภาพการณ์แบบหนึ่ง
ข้าพเจ้าขอยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่า ถ้านักประวัติศาสตร์จารีตนิยมจะกล่าวหาว่าข้าพเจ้าศึกษาประวัติศาสตร์ และศึกษามนุษย์โดยแยกส่วนเป็นชิ้นๆ แล้ว ก็น่าจะกล่าวว่าวิธีการเลือกหรือแบ่งยุคช่วงเวลาเพื่อการศึกษาประวัติศาสตร์ ของพวกเขาเองนั่นแหละ ที่ทำให้การศึกษาวิถีและเหตุการณ์ประวัติศาสตร์แตกแยกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้น น้อย จนเราไม่สามารถเห็นภาพรวมของเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ทั้งหมดทั้งในแง่มิติของ เวลาและของสถานที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่สามารถทำให้เราเห็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ ที่อยู่ในโครงสร้างระดับลึกของวิถีประวัติศาสตร์ได้
และเช่นเดียวกัน ถึงแม้ว่าจะเป็นการต้องคัดค้านปรมาจารย์ทางประวัติศาสตร์นิพนธ์ เช่น Ranke หรือ Karl Brandi ก็ตาม ข้าพเจ้าขอยืนยันว่า วิธีการศึกษาประวัติศาสตร์แนวพรรณนาเชิงตระหนักแน่นของเขา ก็มิได้มีความเป็น "สภาวะวิสัย" หรือ "สอดคล้องกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์" มากเท่าที่พวกเขาคิดว่ามันควรจะเป็น ข้าพเจ้าคิดว่าวิธีการศึกษาของเขานั้นจำกัดตัวอยู่แค่ในระดับปรัชญาประวัติศาสตร์เท่านั้น
อนึ่ง ข้าพเจ้าขอกล่าวว่า วิธีการที่ข้าพเจ้าศึกษาประวัติศาสตร์โดยแบ่งอกเป็น 3 มิตินั้น ก็มิได้มีลักษณะตายตัวแยกขาดจากกันโดยสิ้นเชิง การนำเสนอเรื่องซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ตอน 3 มิตินั้น ก็เพื่อความสะดวกในความเข้าใจปรัชญาการศึกษาประวัติศาสตร์ของข้าพเจ้า เพราะในสภาพความเป็นจริงแล้ว มิติทั้งสามย่อมเป็นองค์ประกอบของกันและกันและแบ่งแยกออกมิได้
ข้าพเจ้าหวังเช่นกันด้วยว่า ผู้อ่านคงจะไม่ตำหนิในความทะเยอทะยาน ความปรารถนา และความจำเป็นของข้าพเจ้าในการกำหนดขอบเขตในการศึกษาประวัติศาสตร์ไว้ให้ กว้างและสูง โดยไม่จำกัดตัวอยู่แค่ในดินแดนของวิชาประวัติศาสตร์ (ตามความหมายเดิม) เท่านั้น ประวัติศาสตร์ในความหมายของข้าพเจ้าน่าจะเป็นศาสตร์ที่ขังตัวเองอยู่ในสวน สี่เหลี่ยมกำแพงสูงอย่างที่เป็นมา วิชานี้โดยลักษณะเนื้อหาของตัวเองแล้วน่าจะต้องพึ่งพาเกี่ยวกันกับศาสตร์ แขนงอื่นๆ เป็นอย่างมากที่เพิ่งเริ่มก่อตัวและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางสาขามนุษย์ศาสตร์
ข้าพเจ้าอยากจะตั้งคำถามว่า ปัจจุบันเราอยู่ในปี 1946 ถ้าเรานักประวัติศาสตร์ไม่มีความทะเยอทะยาน ความตระหนักในภาระหน้าที่และพลังของเราแล้ว เราจะสามารถสถาปนาลัทธิมนุษยนิยมขึ้นได้หรือไม่ Edmond Flaval ได้กล่าวไว้ในปี 1942 ว่า "เพราะเรากลัวที่จะ ศึกษาประวัติศาสตร์อย่างในระดับกว้างและอย่างลึกซึ้งนี่เองที่งานประวัติ ศาสตร์นิพนธ์ชิ้นใหญ่และมีค่าจึงไม่ยอมเกิดขึ้นเสียที"
ประโยคนี้ยังคงเป็นความจริงอยู่เสมอ!!